หน้าเว็บ

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

 ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
   ส่วนประกอบและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อนำมาเสริมความสามารถของมนุษย์ในด้านการรับรู้ การจำ การคำนวณ การเปรียบเทียบตัดสินใจ และการแสดงออก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ให้สามารถทำงานเป็นระบบสนองความต้องการของมนุษย์ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ PC เป็นเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ในสำนักงานปัจจุบัน ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักดังต่อไปนี้

     จอภาพ (Monitor) ใช้แสดงผลข้อมูลที่ได้ประมวลมาจากซีพียู
                                      
               
                   จอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube)

                     เป็นจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ ทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้า
                   แรงสูง(high voltage)คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัวอิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำ ให้เกิด
                   ลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิด
                   การเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอ
                                      
                                      
   จอภาพแบบแบน LCD (Liquid Crystal Display)
                       จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ มีสองประเภท ได้แก่
                   - Active matrix
                     จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า                      TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
                   
                   - Passive matrix

                     จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนักทำให้ไม่สามารถมองจาก
                   มุมมอง อื่น ได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า DSTN (Double Super Twisted                      Nematic)
                    จอ LCD เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มพัฒนาประมาณสิบกว่าปีนี้เอง เริ่มจากการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและ                    เครื่องคิดเลข เป็นจอแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสง                    เมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ LCD จึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ มีการสร้างทรานซิสเตอร์เป็นล้านตัวเพื่อควบคุมจุดสี                    บนแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้จุดสีเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การแสดงผลจึงเป็นการแสดงจุดสีเล็ก ๆ ที่ผสมกัน                    เป็นสีต่าง ๆ ได้มากมาย การวางตัวของจุดสีดำเล็ก ๆ เรียกว่าแมทริกซ์ (matrix) จอภาพ LCD                    จึงเป็นจอแสดงผลแบบตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่มีจุดสีจำนวนมา
                                      
                   
                   
จอภาพระบบสัมผัส (Touch-Screen)
                    เป็นจอภาพที่มีประสาทสัมผัส เป็นอุปกรณ์ที่นำข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยการสัมผัสเป็นจอภาพ แบบพิเศษ สามารถรับรู้ทันทีเมื่อมีการสัมผัสกับจอภาพ ใช้งานได้ง่ายสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์เลยผู้ใช้เพียงแตะปลายนิ้วลง
                    บนจอภาพในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อเลือกการทำงานซอฟต์แวร์ที่ใช้จะเป็นตัวค้นหาว่าผู้ใช้เลือกทางเลือกใด และทำให้ตามนั้น หลักการนี้นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยให้ผู้ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่คล่องนักสามารถเลือกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็วจะพบการใช้งานมากใน ร้านอาหารแบบเร่งด่วน หรือใช้แสดงข้อมูลการท่องเที่ยว เป็นต้น

                                      

                    คีย์บอร์ด (Keyboard) ใช้ป้อนข้อมูลหรือคือสั่งเข้าสู่พีซี
                  คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติ ใช้ว่า แผงแป้นอักขระ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์                      ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ  ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด  ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต   จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์   และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็น    แป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก
                                      

                    เมาส์ (Mouse) อุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกในการเลือกคำสั่ง

                      อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับชี้พิกัดบนหน้าจอว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องการเลือกทำงานบนตำแหน่งใดๆที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ตัวนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ คอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น (สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 2549)เมาส์ (mouse) คือ  อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งาน โดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับ  การเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์ (cursor)    บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนูและ
  หางหนู และขณะเดียวกันการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์ (cursor)บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มี ี                   ทิศทางเหมือน การเคลื่อนที่ของหนู (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2549)
                      เมาส์ (Mouse) หรือ "หนูอิเล็กทรอนิกส์" เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหนูมีสายต่ออยู่ที่ปลาย   ลักษณะเดียวกับหางหนู เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า  ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer) ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด                    (keyboard) (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2549)เมาส์เป็นอุปกรณ์พื้นฐาน  ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ  บนหน้าจอและทำการคลิก (click) หรือ ดับเบิลคลิก (double click)
                                      

                   เครื่องสแกนภาพโดยใช้แสง เป็นเครื่องมือนำข้อมูลเข้า (input) ชนิดหนึ่ง

                      สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ                    อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้                    ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์
                 ทำงานต่างๆ  ได้ดังนี้
                   - ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
                   - บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
                   - แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
                   - เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงในในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆโดยพื้นฐานการทำงานของ                      สแกนเนอร์
                      ชนิดของสแกนเนอร์ และความ สามารถในการทำงาน ของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
                   1. Flatbed scanners ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้ว                    บนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMader III
                   2. Transparency and slide scanners ScanMaker ซึ่งถูกใช้ สแกนโลหะโปร่ง                    เช่นฟิล์มและสไลด์ ตัวอย่างของสแกนเนอร์ชนิดนี้ เช่น ScanMaker 35t ที่ใช้สแกนเนอร์ 35 mm
                 และ ScanMake 45t ใช้สแกนเนอร์ ฟิล์มขนาด 8"x10"การทำงานของสแกนเนอร์ การจับภาพ                    ของสแกนเนอร์ ทำโดย ฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพจะถูกจับโดยเซลล์
                 ที่ไว ต่อแสง เรียกว่า Charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะ  สะท้อนแสง ได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสง ได้มาก กว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสง  ที่สะท้อนกลับจากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และ เปลี่ยนคลื่นของแสง ที่สะท้อนกลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอล หลังจากนั้นซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงสัญญาณเหล่านั่นกลับมาเป็นภาพบนคอมพิวเตอร์  อีกทีหนึ่ง
                    
                   สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสแกนภาพ  มีดังนี้
                   - SCSI และสาย SCSI หรือ Parallel Port สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
                   - ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้สแกนภาพตามที่กำหนด
                   - สแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟแวร์ที่สนับ สนุนด้าน OCR
                   - จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์
                   - เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ หรือสไลด์โปรเจคเตอร์
                  ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้
                   - ภาพ Single Bit   เป็นภาพที่มีความพยาบมากที่สุดใช้พื้นทีในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุดและนำมา
                  ใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากร จองเครื่อง น้อยที่สุดใช้พื้นทีใน การเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกน ภาพน้อยที่สุด Single Bitแบ่งออกได้สองประเภทคือ   
                  - Line Art ได้แก่ภาพที่มีประกอบเป็นภาพขาวดำตัวอย่างของภาพพวกนี้ได้แก่ ภาพจากการสเก็ต   Halfone ภาพพวกนี้จะให้เป็นสีโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single   Bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบ ๆ
             
                    - ภาพ Gray Scale ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉด สีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึก มากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละ พิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบ ด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
                
                    - ภาพสี หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วย จำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมากความ สามารถ ในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาด ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์มีขนาดความละเอียดเท่าไร

                   โมเด็ม (Modem)
                     จะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณอนาล็อก เพื่อส่งผ่านตามสายโทรศัพท์ และเมื่อถึงปลายสายโมเด็มที่  ปลายสายจะเปลี่ยนสัญญาณอนาล็อก ให้กลับเป็นสัญญาณดิจิตอลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ปลายสายอีกครั้งหนึ่ง
                   
                     
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภาย นอกได้อย่างง่ายดายโมเด็ม  เป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของเราสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถ ทำงานของเราสามารสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงาน ของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วย การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคุ่สายของ โทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็ม จะทำการแปลงสัญญาณ ดิจิตอล (digital    signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณ อนาล๊อก (analog signals) เพื่อให้สามารถ  ส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
           
                    คำว่า โมเด็ม (Modem) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน  หมายถึง                     กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล๊อกแล้วจึง สัญญาณกลับไปเป็นดิจิตอลอีก ครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของเราต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่น
                    ความสามารถของโมเด็ม เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่าง ๆได้หลายอย่าง เช่น
    • ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน เช่นสั่งซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต  
    • ท่องไปบนอินเตอร์เน็ต  
    • เข้าถึงบริการออนไลน์ได้  
    • ดาวน์โหลดข้อมูล , รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้  
    • ส่ง - รับโทรสาร  
    • ตอบรับโทรศัพท์

      ความแตกต่างของโมเด็ม

        1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ  ความเร็วในการรับ-ส่งสัญญาณ
      หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็ม สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็ม อื่นๆ มีหน่วยเป็น
      บิต /วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/ วินาที (kbps)ในการบอกถึง ความเร็วขอโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการ พูดและจดจำ
        2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล   ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้น สามารทำให้มีขนาดกะทัดรัด ด้วย วิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวน มากๆ   3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ ๆ สามารถส่งและรับ
      โทรสาร(Fax  capabilities) ได้ดีเช่น เดียวกับ การรับ ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟแวร์ที่เหมาะสม แล้วคุณสามารถใช้ แฟคซ์ โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer) ได้เมื่อเราพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็ม
      มันจะส่งเอกสาร ของเราไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
        4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความ
      ผิดพลาด (error control) ต่าง ๆ มากมาย หลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่า จะไม่ข้อมูลใด ๆสูญหายไประหว่างการส่ง ถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
        5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่ว ๆ
      ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติด ตั้งภายนอก (external modems) และแบบติดตั้งภายใน
      (internal modems)
        6.ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับ
      ความสามารถ ในการรับ/ ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย
                                 

      เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer)

             อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่เป็นเอกสาร ข้อความ และรูปภาพ ที่อยู่บนจอภาพเครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ ที่ได้จากการประมวลผลของ เครื่องคอมพิวเตอร ์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
                               
                                 
                                 (Ink-Jet Printer) Dot

      1.
      เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)
         เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เป็นเครื่องพิมพ์ที่นนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากที่สุด
      เนื่องจากราคา และคุณภาพการพิมพ์อยู่ในระดับที่เหมาะสม การทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้หลักการสร้างจุด
      ลงบน กระดาษโดยตรง หัวพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ มีลักษณะเป็นหัวเข็ม (pin) เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็น ข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็มอื่น เพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึก ลงบนกระดาษ ก็จะทำให้เกิดจุดขึ้น การพิมพ์แบบนี้จะมีเสียงดัง พอสมควร ความคมชัดของข้อมูลบนกระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุด ถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ยิ่งคมชัดมากขึ้น ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์อยู่ระหว่าง 200 ถึง 300 ตัวอักษรต่อวินาที หรือประมาณ 1 ถึง 3 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้หลาย ๆ ชั้น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์ ซึ่งกระดษาประเภทนี้จะมีรูข้างกระดาษทั้งสอง
      เอาให้ หนามเตยของเครื่องพิมพ์เลื่อนกระดาษ
                                  
                                    Ink-Jet Printer
         2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก Matrix Printer
           
                  เครื่องพิมพ์พ่นหมึก เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพการพิมพ์ที่ดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตแมทริกซ์ โดยสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบ และขนาดที่แตกต่งกันมาก ๆ รวมไปถึง พิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์ คมชัดว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นหมึก ใช้ในการพิมพ์ก็คือ การพ่นหมึกหยดเล็ก ๆ ไปที่กระดาษ หยดหมึกจะมีขนาดเล็กมาก แต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้ว เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพ ตามความต้องการ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกมีความเร็วในการพิมพ์ มากว่าแบบดอตแมทริกซ์ มีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็น PPM (Page Per Minute) ซึ่งเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์มาก อย่างไรก็ตามถ้าเป็นการพิมพ์ กราฟิกหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบในเวลาเดียวกัน เครื่องพิมพ์พ่นหมึกจะทำงานได้ช้าลง กระดาษที่ใช้กับเครื่อง พิมพ์พ่นหมึกจะเป็นขนาด 8.5 X 11 นิ้ว หรือ A4 ซึ่งสามารถพิมพ์ได้ ทั้งแนวตั้งที่เรียกว่า "พอร์ทเทรต" (Portrait) และแนวนอนที่เรียกว่า "แลนด์สเคป" (Landscape) โดยกระดาษจะถูกวางเรียงซ้อนกัน อยู่ในถาด และถูกป้อน เข้าไปในเครื่องพิมพ์ที่ละแผ่นเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร

                                
                                     Laser Printer
3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
                  เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่สามารถทำงาน ได้เร็วกว่า โดยเครื่องพิพม์เลเซอร์ สามารถพิมพ์ตัวอักษรได้ทุกรูปแบบและทุกขนาดรวมทั้งสามารถพิมพ์งาน กราฟิกที่คมชัดได้ด้วย เครื่องเลเซอร์ใช้เทคโนโลยี เดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบน กระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษรบนกระดาษ
                  หน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะเป็น PPM เช่นเดียวกับ เครื่องพิมพ์พ่นหมึกในปัจจุบัน ความสามารถ ในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้หลายร้อยหน้าต่อนาที ซึ่งเหมาะ กับงานในองค์กรขนาดใหญ่ จะนำไปใช้งานในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ส่วนคุณภาพงานพิมพ์ของเครื่องจะวัด ด้วยความละเอียดในการสร้างจุดลงในกระดาษ ขนาด 1 ตารางนิ้ว เช่นความละเอียดที่  300 dpi หรือ 600 dpi หรือ 1200 dpi เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ก็จะมีทั้งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบ ขวา-ดำ และเครื่องพิมพ์ เลเซอร์แบบสี ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบสีจะมีราคาแพงมาก แต่งานพิมพ์ที่ได้ออกมาก็มีคุณภาพสูง
                                
                                         plotter

4.
พล็อตเตอร์ (plotter)
                  พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษเหมาะสำหรับงาน เกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม (เขียนลงบนกระดาษไข) และงานตกแต่งภายใน สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก
                  พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Secon : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ
                                

UPS (Uninterruptable Power Supply)

             ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันและ กระแสไฟให้คงที่อยู่เสมอเมื่อเกิดกระแสไฟตกและจ่ายไฟสำรองให้เมื่อไฟฟ้าดับ
UPS ย่อมาจากคำว่า Uninterruptable Power Supply ซึ่งแปลตรงตัว แปลว่า แหล่งจ่ายไฟฟ้าที่ไม่สามารถขัดขวางได้ ในที่นี้ หมายถึง ไม่ว่าพลังงานไฟฟ้าได้รับจะมีสภาพเป็นอย่างไร เครื่อง UPS ก็สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมาเป็นปกติ (ในทางปฏิบัติจะไม่ถึงกับแก้ได้ทุกอย่างเสมอไป) ซึ่งหลักการของ UPS โดยทั่วไปแล้ว จะใช้วิธีการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ(AC)เป็นไฟฟ้ากระแสตรง(DC)แล้วเก็บสำรองไว้ ใน Battery ส่วนหนึ่ง และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นอย่างใดที่ไม่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าที่ได้รับมา ก็จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง(DC)ที่อยู่ใน Battery ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ(AC)แล้วจึงจ่ายพลังงานไฟฟ้าออกมาให้ดูเหมือนปกติ

Offline UPS หรือ Standby UPS

                           ในขณะที่ไฟฟ้าปกติ Load จะได้รับกระแสไฟฟ้าจาก Main โดยตรง ในขณะเดียวกัน Charger ก็จะประจุกระแสไฟฟ้าให้กับ Battery ไปด้วยพร้อมๆกัน แต่เมื่อไฟฟ้าดับ Battery ก็จะจ่ายไฟให้กับ Inverter เพื่อแปลงไฟฟ้าออกมาให้กับ Load โดยมี Transfer Switch เป็นตัวสับเปลี่ยนหรือเลือกแหล่งไฟฟ้าระหว่าง Main หรือ Inverter จะเห็นได้ว่า ที่สภาวะไฟฟ้าปกติหรือกรณีที่กระแสไฟฟ้าผิดปกติในช่วงเวลาสั้นมากจน Transfer Switch สลับแหล่งจ่ายไฟฟ้าไม่ทัน กระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับ Load จะถูกส่งมาจาก Main โดยตรง ดังนั้น ถ้า Main มีคุณภาพไฟฟ้าที่แย่ มีสัญญาณรบกวน ไฟเกิน ไฟตก หรือไฟกระชาก ไฟฟ้าที่จ่ายให้กับ Load ก็มีสภาวะเช่นนั้นด้วย ดังนั้น UPS ชนิดนี้ จึงไม่เหมาะกับไฟฟ้าบ้านเราซึ่งมีไฟตกบ่อย
จากผังวงจร เราจะเห็นได้ว่า ถ้าไฟฟ้าไม่ดับ Inverter ก็จะไม่ต้องทำงานเลย ดังนั้น UPS ชนิดนี้ จะมีอายุการทำงานที่ยืนยาวมาก แต่ที่มันไม่พังไม่ใช่เป็นเพราะมันมีคุณภาพดี แต่เป็นเพราะมันไม่ค่อยได้ทำงานตะหากล่ะ

True Online UPS

                           เป็น UPS ที่เหล่า Admin ทั้งหลายแหล่งไฝ่ฝันที่จะนำมาใช้ในการดูแลระบบของตน เพราะมีกระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับ Load ที่เกือบจะสมบูรณ์ ไม่กระเทือนต่อไฟกระชากและสัญญาณรบกวน แต่มีข้อเสียคือ แพงมากก จะเห็นได้ว่า มีโครงสร้างเป็นแบบไกล้เคียง UPS ในอุดมคติเลยทีเดียว โดย Charger และ Inverter จะทำงานตลอดเวลา ไม่ว่าไฟจะตก ไฟจะเกิน มีสัญญาณรบกวนเป็นรูปลูกคลื่นอย่างไรไม่สน ขอเพียง Battery ไม่เสีย ไฟฟ้าที่จ่ายให้กับ Load ก็ยังมีหน้าตาเหมือนเดิม แต่กรณีที่ Inverter เสียเท่านั้นเอง จึงจะส่งไฟฟ้าจาก Main เข้าไปเลี้ยง Load แทน แต่ถ้า Inverter เสีย เราก็ไม่ควรจะใช้งานต่ออยู่แล้วหากเราดูจาก Catalog ของ UPS ชนิดนี้ อาจจะเห็นว่า Transfer Switch มีช่วงเวลาการทำงานเป็น 0 ms. ทั้งนี้เป็นเพราะ ผู้ซื้อ UPS มักเข้าใจว่า Transfer Switch มีหน้าที่สำหรับสลับสัญญาณเมื่อไฟดับหรือไฟผิดปกติ ดังนั้น ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องพิมพ์ Catalog ออกมาให้ตรงกับความเข้าใจของผู้ซื้อ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว Transfer Switch ของ UPS ชนิดนี้ ทำหน้าที่อีกแบบหนึ่ง เป็นที่เข้าใจกันของผู้ขายกับผู้ผลิต
Online Protection UPS หรือ UPS with Stabilizer                            เป็น UPS ที่ขายดีที่สุดในประเทศไทย จนตอนนี้ ผู้ผลิต UPS ในประเทศไทยได้เปลี่ยนมาผลิต UPS ชนิดนี้กับเกือบหมดทุกโรงงานแล้ว ทั้งนี้ ราคาไม่แพงและคุณภาพไฟฟ้าที่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
จากผังโครงสร้างของ UPS นี้ เราจะเห็นได้ว่า คล้ายกับ Offline มากทีเดียว แต่ส่วนที่เพิ่มขึ้นมาคือ Stabilizer จะเข้ามาทำงานในขณะที่ไฟฟ้าทำงานตามปกติ ทำให้สามารถปัญหาไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก และไฟกระพริบ ได้
ฮาร์ดดิสก์  Hard Disk  เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก
                          
ลักษณะทั่วไป

        ระบบฮาร์ดดิสค์แตกต่างกับแผ่นดิสเกตต์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีจำนวนหน้าสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลมากกว่าสองหน้า นอกจากระบบฮาร์ดดิสค์จะเก็บบันทึกข้อมูลเหมือนแผ่นดิสเกตต์ยังเป็นส่วนที่ ใช้ในการอ่านหรือเขียนบันทึกข้อมูลเหมือนช่องดิสค์ไดรฟ์
        แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์ จะมีความหนาแน่นของการจุข้อมูลบนผิวหน้าได้สูงกว่าแผ่นดิสเกตต์มาก เช่น แผ่นดิสเกตต์มาตราฐานขนาด 5.25 นิ้ว ความจุ 360 กิโลไบต์ จะมีจำนวนวงรอบบันทึกข้อมูลหรือเรียกว่า แทร็ก(track) อยู่ 40 แทร็ก กรณีของฮาร์ดดิสค์ขนาดเดียวกันจะมีจำนวนวงรอบสูงมากกว่า 1000 แทร็กขึ้นไป ขณะเดียวกันความจุในแต่ละแทร็กของฮาร์ดดิสค์ก็จะสูงกว่า ซึ่งประมาณได้ถึง 5 เท่าของความจุในแต่ละแทร็กของแผ่นดิสเกตต์
        เนื่องจากความหนาแน่นของการบันทึกข้อมูลบนผิวแผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสค์ สูงมาก ๆ ทำให้หัวอ่านและเขียนบันทึกมีขนาดเล็ก ตำแหน่งของหัวอ่านและเขียนบันทึกก็ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ชิดกับผิวหน้า จานมาก โอกาสที่ผิวหน้าและหัวอ่านเขียนอาจกระทบกันได้ ดังนั้นแผ่นจานแม่เหล็กจึงควรเป็นแผ่นอะลูมิเนียมแข็ง แล้วฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ฮาร์ดดิสค์จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้องการเปิดออกจะต้องเปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้องออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นแบบติดภายในเครื่องไม่เคลื่อนย้ายเหมือน แผ่นดิสเกตต์ ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร์(Winchester Disk)
                    
                              
        ฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัดเรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ด้วยความเร็ว 3600 รอบต่อนาที แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
                     
                          

จากรูปเป็นภาพตัดขวางของฮาร์ดดิสค์แสดงแผ่นจาน แกนหมุน Spindle หัวอ่านเขียน และก้านหัวอ่านเขียน
                                       จากรูปแสดงฮาร์ดดิสค์ที่มีแผ่นจาน 2 แผ่น พร้อมการกำกับชื่อแผ่นและหน้าของดิสค์ ผิวของแผ่นจานกับหัวอ่านเขียนจะอยู่เกือบชิดติดกัน คือห่างกันเพียงหนึ่งในแสนของนิ้ว และระยะห่างนี้ ในระหว่างแทร็กต่าง ๆ ควรสม่ำเสมอเท่ากัน ซึ่งกลไกของเครื่องและการประกอบฮาร์ดดิสค์ต้องละเอียดแม่นยำมาก การหมุนอย่างรวดเร็วของแผ่นจาน ทำให้หัวอ่านเขียนแยกห่างจากผิวจาน ด้วยแรงลมหมุนของจาน แต่ถ้าแผ่นจานไม่ได้หมุนหรือปิดเครื่อง หัวอ่านเขียนจะเลื่อนลงชิดกับแผ่นจาน ดังนั้นเวลาเลิกจากการใช้งานเรานิยมเลื่อนหัวอ่านเขียนไปยังบริเวณที่ไม่ได้ ใช้เก็บข้อมูลที่เรียกว่า Landing Zone เพื่อว่าถ้าเกิดการกระแทรกของหัวอ่านเขียนและผิวหน้าแผ่นจานก็จะไม่มีผลต่อ ข้อมูลที่เก็บไว้
ดิสก์ไดรฟ์
      ดิสก์ไดรฟ์และแผ่นดิสก์เป็นอุปกรณ์ในการอ่านและเขียนข้อมูลบนแผ่นดิสก์แผ่นดิสก์ (Diskette) เป็นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน
      ดิสก์ไดรฟ์ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นมันเป็นอุปกรณสำหรับอ่านข้อมูลและบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์ของ
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นจานขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์หัวอ่าน์และ บันทึกข้อมูลจะมีลักษณะคล้ายๆ กับหัวอ่านและหัวบันทึกเทปในเครื่องเทปบันทึกเสียง ดังนั้น เมื่อใช้ไปนานๆ จึงจำเป็นจะต้อง ใช้น้ำยาล้างหัวอ่านและหัวบันทึกเทป เพื่อไม่ให้หัวเทปที่มีอยู่นั้นเป็นรอย หรือเกิดการเสียหายได้ ดังนั้นเราต้องดูแลรักษาให้ดี เพื่อให้ใช้ได้นานๆ และที่เวลาดิสก์ไดรฟ์มีปัญหา ในการอ่านและบันทึกข้อมูล ดิสก์ไดรฟ์ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ขนาดคือ ดิสก์ไดรฟ์ขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งใช้กับแผ่นดิสก์แผ่นใหญ่ที่มีความจุ 1.22 เมกะไบต์ กับดิสก์ไดรฟ์ขนาด 3.50 นิ้ว ซึ่งใช้กับแผ่นดิสก์เล็กที่มีความจุ 1.44 เมกะไบต์ เครื่องไมโครคอมรุ่นใหม่ๆจะมีดิสก์ไดรฟ์ขนาดเดียว คือ ขนาด 3.50 นิ้ว ซึ่งใช้กับแผ่นดิสก์ความจุ 1.44 เมกะไบท์เท่านั้น แต่หากท่านต้องการดิสก์ไดรฟ์ ขนาดใหญ่ก็สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ในภายหลัง หรือจะให้ทางบริษัทขาย เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ติดตั้งให้กับท่านที่ซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้
เมนบอร์ด (Mainborad) เป็นแผงวงจรที่ใช้ติดตั้ง และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ
ความรู้เรื่องเมนบอร์ด (Mainboard)
     เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า
"เมนบอร์ด"
ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ

  ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู
  ชิปเซ็ต (Chip set)
  ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ
  ระบบบัสและสล็อต
  Bios
  สัญญาณนาฬิกาของระบบ
  ถ่านหรือแบตเตอรี่
  ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
  ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
  จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
  ขั้วต่อ IDE
  ขั้วต่อ Floppy disk drive
  พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
  พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
  พอร์ต USB

แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด
แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด ECS P6VPA2

เมนบอร์ดที่ติดตั้งบนแผ่นรองก่อนประกอบเข้าตัวเครื่อง
เมนบอร์ดที่ติดตั้งในตัวเครื่องได้เลย
เมนบอร์ดที่ติดตั้งบนแผ่นรองก่อนประกอบเข้าตัวเครื่อง
เมนบอร์ดที่ติดตั้งในตัวเครื่องได้เลย
 การพิจารณาคุณสมบัติของเมนบอร์ด
ประเด็นสำคัญในการเลือกเมนบอร์ดที่ดีในปัจจุบันคือสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี่
      Form Factors หมายถึงลักษณะโครงสร้างของเมนบอร์ด ทั้งรูปร่างและขนาดซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบที่เรียกว่าAT หรือไม่ก็แบบ Baby AT (คือ AT ที่ลดความยาวลงมาในขณะที่ความกว้างเท่าเดิม) ส่วนมาตรฐานใหม่คือ ATX ซึ่งเป็น Baby AT ที่กลับทางจากเดิม คือมีการวางแนวสล็อตและหน่วยความจำใหม่ให้อยู่ใกล้ ๆ กันจะได้ทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีไม่มีปัญหา รวมทั้งการระบายความร้อนก็ดีขึ้นเนื่องจากกำหนดให้อยู่ใกล้กับแหล่งจ่ายไฟที มีพัดลมอยู่ (ตัวเครื่องหรือ Case ก็จะต้องเป็นแบบ ATX ด้วยจะใส่กันได้ลงตัว) รวมทั้งขั้วต่อแหล่งจ่ายไฟแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิมแนวโน้มในอนาคตจึงควรเลือก ใช้เมนบอร์ดแบบ ATX โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับซีพียูความเร็วสูง ๆ

      Bios
ควรจะเป็น flash BIOS ซึ่งสามารถ upgrade ได้เสมอด้วยซอฟต์แวร์ โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนชิป

      มีซอฟต์แวร
์ สำหรับดาวน์โหลดมา Upgrade ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานอยู่ เพื่อแก้ข้อผิดพลาดหรือเพิ่มเติมส่วนที่ยังไม่มีรองรับในระบบปฏิบัติการ เช่น ใน Windows 95 ยังไม่มีไดรเวอร์สำหรับอุปกรณ์ UDMA (Ultra DMA) และ USB (Universal Serial Bus)ซึ่งเมนบอร์ดที่ดีควรจะมีไดรเวอร์เหล่านี้มา ให้หรือให้ดาวน์โหลดได้ด้วย
     
      มีคู่มือที่ดี
ซึ่งเป็นสิ่งทีสำคัญมากของเมนบอร์ด เพราะถ้าไม่มีก็แทบไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวเลือกต่าง ๆ ได้เลย เมื่อต้องการ เพิ่มอุปกรณ์ใหม่ ๆ เข้ามาหรือเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบต่างๆ เช่นเพิ่ม RAM หรือเปลี่ยนซีพียู (เพราะจะไม่
สามารถกำหนดการทำงานให้ตรงกับที่ต้องการได้ทั่งนี้รวมถึงการ Overclock ด้วย
นอกจากนี้ถ้าคู่มือมีรายการข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่แสดงด้วยเสียงก็จะยิ่งดีเพราะเป็น
สิ่งที่ไม่ค่อยมีมาตรฐานและจำเป็นสำหรับเวลาที่มีปัญหาเกิดขึ้นจะได้วิเคราะห์ได้ตรงจุด   
     
      มีข้อมูลสำหรับการ Upgrade เมนบอร์ด เพื่อ ให้สามารถใช้กับส่วนประกอบใหม่ ๆ ได้ เช่น เมื่อตอนเริ่มแรกอาจไม่รองรับ Pentium III เพราะยังไม่มีอยู่ แต่ในอนาคตควรจะมีวิธีปรับให้เหมาะสมได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ควรจะได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

      ซีพียูเลือกว่าจะใช้ซีพียูชนิดใด
เนื่องจากซีพียูเป็นตัวกำหนดซ็อคเก็ตที่จะต้องใช้บนเมนบอร์ดจึงต้องเลือก ก่อน ปัจจุบัน Pentium II, Pentium III, Celeron, AMD K6-2 และ AMD K7 Athlon เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด ขึ้นอยู่กับความต้องการและงบประมาณที่จ่ายได้ ข้องแนะนำในตอนนี้ก็คือ

      Pentium II และ Pentium III

จะต้องเลือกเมนบอร์ดที่ใช้ซ็อคเก็ต Slot 1 และชิปเซ็ต 440BX

      Celeron

ควรใช้ i810 ที่มีทุกอย่างอยู่ในตัว เนื่องจากถ้าเลือกซีพียูรุ่นนี้ก็คือเน้นที่ประหยัดอยู่แล้ว และ i810 ก็คือรุ่นล่าสุดที่ออกมาสำหรับ Celeron โดยเฉพาะ

      Pentium III

ควรจะใช้ i820 จะเหมาะสมที่สุด

      AMD K6-2

จะต้องใช้เมนบอร์ดที่มีซ็อคเก็ต Super 7 ซึ่งมีชิปเซ็ตมากมายให้เลือก ทั้งจาก SiS, ALI Aladdin และ VIA Apollo

      AMD Atholn

ก็ต้องใช้เมนบอร์ดและชิปเว็ตสำหรับ Atholn โดยเฉพาะ
Pentium II Xeon

ซึ่งใช้เป็นเซิอร์ฟเวอร์มีแคชระดับสองมากหน่อย (1 หรือ 2 MB) ส่วนจะมีช่องเสียบซีพียูทีสอง (แบบ SMP) หรือไม่ก็ต้องแล้วแต่ความต้องการ
      RAM ควรเลือกเมนบอร์ที่สามารถใช้ 64 บิต 168 pin ได้ เนื่องจากเป็นหน่วยความจำชนิดที่มีความเร็วสูงสุดและราคาถูกในขณะนี้ แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้ EDO RAM หรือ DRAM แบบ 72 pin ที่มีอยู่แล้วก็อาจจะเลือกที่มีสล็อตทั้งสองแบบ ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกไม่มากนัก จึงควรตัดใจทิ้ง RAM เก่าไปเสียจะดีกว่า ถ้าเป็นไปได้ควรจะเลือก 100 MHz (10 ns) หรือเร็วกว่านี้เนื่องจากแนวโน้มบัส 66 MHz กำลังจะหมดไปในอีกไม่ช้านี้ และ EDO RAM ก็ไม่สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 66 MHz ด้วย
     
      AGP
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแสดงผลความเร็วสูง ควรจะเลือกเมนบอร์ดที่มีสล็อตแบบนี้ด้วยเสมอ ส่วนความเร็ว (2x, 4x) ก็แล้วแต่ความต้องการใช้งานและชิปเซ็ตที่ใช้ด้วย
     
      PCI
เป็นสล็อตที่จำเป็นอย่างยิ่ง มียิ่งมากได้ก็ยิ่งดี เว้นแต่ว่าจะต้องใช้การ์ดที่เป็น ISA ด้วยก็จะต้องเลือกให้มีสล็อต ISA มากพอกับจำนวนการ์ดที่ต้องการใช้
     
      ACPI
ปัจจุบันเมนบอร์ดทั้งหมดควรจะมีมาตรฐาน ACPI อยู่แล้วซึ่งนอกจากประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดีแล้วยังสามารถติดตั้ง อุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่ายอีกด้วย
ผู้ผลิตเมนบอร์ดและเวบไซท์มีดังนี้
ผู้ผลิตเมนบอร์ดและเวบไซท์มีดังนี้

ผู้ผลิต

เวบไซท์

Intel Corporation www.intel.com/design/motherbd/
Abit Computer www.abit.com.tw
ASUS www.asus.com
Elitegroup Computer Systems www.ecs.com.tw/ecs/ecs/mainboard.html
First International Computer www.fic.com.tw
Micronics Computer www.micronics.com/micronics
Gigabyte www.giga-byte.com
Supetmicro www.supermicro.com
Tyan www.tyan.com

      ซีพียู (CPU) เป็นสมองคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผล
      ซีพียู CPU (Central Processing Units) หรือ หน่วยประมวลผลกลาง คือ ส่วนที่เรียกว่าเป็นหัวใจของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง เพราะการทำงานทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การย้ายข้อมูล การตัดสินใจ ล้วนเกิดขึ้นที่นี่ทั่งสิ้น เพียงแต่ว่าซีพียูจะต้องมีอุปกรณ์อื่น ๆ ทำงานร่วมด้วยเพื่อให้สามารถติดต่อกับ โลกภายนอกได้นั่นก็คือการับข้อมูลและแสดงผลข้อมูล

ซีพียู Intel Pentium
     ซีพียู Intel Celeron
ซีพียู Intel Pentium III               ซีพียู Intel Celeron
ซีพียู Intel Pentium III แบบ Slot 1                          ซีพียู AMD Athlon
ซีพียู Intel Pentium III แบบ Slot 1              ซีพียู AMD Athlon

     หน้าที่ของ CPU (Central Processing Units) คือปฏิบัติตามชุดคำสั่งและควบคุมการโอนย้ายและประมวลผลข้อมูลทั้งหมด ส่วนต่างๆของซีพียูแยกเป็น ส่วนได้ดังนี้
     
     1. ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary) ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัวคือ 0 กับ 1 มีความหมายว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ หรือ ถูก ผิด คำสั่งทุกคำสั่งที่ ไมโครโพรเซสเซอร์รับมาประกอบจากคำสั่งหลายๆคำสั่งที่โปรแกรมเมอร์คอมไพล์มา จากภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น (BASIC, COBAL, C) เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะเข้าใจคำสั่งเหล่านี้ จะต้องแปลงให้เป็นไบนารีก่อน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นใน decode unit ของไมโครโพรเซสเซอร์

     
2. แอดเดรส คือตัวเลขที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลในหน่วยความจำ หรือ Storage ข้อมูลที่ซีพียูประมวลผลจะแสดงด้วยแอดเดรสของข้อมูล ไม่ใช่ค่าจริงๆของข้อมูล

     3. บัส
ชุดของเส้นลวดนำไฟฟ้าที่เป็นทาง เดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบัสในคอมพิวเตอร์คือบัสข้อมูล (Data bus) หรือระบบบัส (system bus) ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต หน่วยความจำหลักและซีพียู ภายในซีพียูเองก็มีบัสภายในที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลระหว่าง หน่วยต่างๆ ที่อยู่ภายในที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ ที่อยู่ภายในโครงสร้างย่อยในชิป
     4. หน่วยความจำแคช แคชมีความสำคัญมากต่อซีพียู เพราะหากไม่มีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชแล้ว โปรเซสเซอร์ก็จะเสียเวลาส่วนใหญ่สำหรับการ หยุดรอข้อมูลจากแรมซึ่งทำงานช้ากว่าแคชมาก โปรเซสเซอร์จะมีแคช 2 แบบคือ แคชระดับหนึ่ง (Primary cache หรือ L1) และแคชระดับสอง (secondary cache หรือ L2) ต่างกันตรงตำแหน่ง โดย L1 cache อยู่บนซีพียู เรียกว่า on-die cache ส่วน L2 cache อยู่บนเมนบอร์ด เรียกว่า off-die แต่ในปัจจุบัน L2 cache เป็น on-die กันแล้ว หน่วยความจำแคชเป็นที่เก็บคำสั่งและข้อมูลก่อนที่จะส่งให้ซีพียู
 
     5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา
หมายถึงจำนวนรอบ ที่ซีพียูทำงานเมื่อสัญญาณนาฬิกาในเครื่องผ่านไปหนึ่งช่วงสัญญาณนาฬิกาแสดง ด้วยหน่วย เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือเท่ากับ 1 ล้านรอบต่อวินาที (โปรเซสเซอร์คนละชนิดหรือคนละรุ่นถึงแม้จะมีสัญญาณนาฬิกาเท่ากัน แต่อาจเร็วไม่เท่ากันก็ได้ เพราะมีโครงสร้างภายในและชุดคำสั่งที่แตกต่างกัน)

      6. รีจิสเตอร์
เป็นหน่วยความจำไดนามิก ขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในโครงสร้างของโปรเซสเซอร์ รีจิสเตอร์ใช้เก็บข้อมูลที่ถูกประมวลผลไว้จนกว่าจะ พร้อมที่จะส่งไปคำนวณ หรือส่งไปแสดงผลให้แก่ยูสเซอร์

      7. ทรานซิสเตอร
์ เป็นจุดเชื่อมต่อแบบ 3ทางอยู่ภายในวงจรของโปรเซสเซอร์ ประกอบด้วยชั้นของวัสดุที่เป็นขั้วบวก และขั้วลบ ซึ่งสามารถขยายกระ แสไฟฟ้าให้เพิ่มขึ้น หรือขัดขวางไม่ให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ต่อ

      8. Arithmetic logic unit (ALU)
เป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ใช้ในการคำนวณผลทางคณิตศาสตร์และการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ การเปรียบเทียบ เชิงตรรกะเป็นการเปรียบเทียบค่าไบนารีเพื่อหาว่า ควรจะส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านเกตบางตัวในวงจรของโปรเซสเซอร์หรือไม่ การทำงานอยู่ในรูปแบบของ
"ถ้า x เป็นจริง และ y เป็นเท็จ แสดงว่า z เป็นจริง"

     9. Floating - Point Unit (FPU) มีหน้าที่จัดการ กับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับเลขทศนิยม หรือตัวเลขที่เป็นเศษส่วน การคำนวณเลขทศนิยมมักเกิดขึ้นเมื่อพีซีรันโปรแกรมพวกกราฟฟิก เช่นโปรแกรม CAD หรือเกมส์ 3 มิติ

      10. Control Unit
หลังจากที่ซีพียูรับชุดคำสั่งหรือข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาแล้ว หน่วยควบคุมนี้จะรับหน้าที่พื้นฐาน 4 อย่างด้วยกันคือ
          fetch โดยการส่งแอดเดรสของคำสั่งถัดไป ไปยังแอดเดรสบัส แล้วนำค่าที่ได้ไปเก็บไว้ในแคชคำสั่งภายในซีพียู
          decode โดยส่งคำสั่งปัจจุบันจากแคชคำสั่งไปยัง decode unit
          execute เริ่มกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกะภายใน ALU และควบคุมการไหลของข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางที่เหมาะสม
          store บันทึกผลลัพธ์จากคำสั่งไว้ในรีจิสเตอร์หรือหน่วยความจำที่เหมาะสม
  
     11. Decode unit
รับหน้าที่ดึงคำสั่งภาษาเครื่องจากแคชคำสั่ง และเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไบนารีโค้ด เพื่อให้ ALU สามารถนำไปใช้ประมวลผล
        ซีพียูในเครื่องพีซีทั่วไปจะเป็นชิปไอซี (IC-Integrated Circuit) ตัวเล็กขนาดวางบนฝ่ามือได้ซึ่งเรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ในตระกูลที่เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท อินเทล ที่เรียกกันว่าตระกูล 80x86 (x หมายถึงตัวเลขใด ๆ) เริ่มต้นตั้งแต่ 8086,80286,80386,80486 จนถึงรุ่นใหม่ที่ตอนพัฒนาใช้ชื่อรหัสว่า P5 แต่พอวางตลาดจริงก็เปลี่ยนชื่อจากเดิมที่จะเป็น80586 หรือ 586 ไปเป็น"เพนเทียม" (Pentium) ด้วยเหตุผลทางการค้าทีว่าชื่อ 586 เป็นเพียงตัวเลข 3 ตัว ไม่สามารถสงวนสิทธิ์การใช้งานและห้ามการลิกเลียนแบบในฐานะเครื่องหมายการค้า ได้ รวมถึงรุ่นล่าสุดที่พุฒนาต่อจาก Pentium หรือ P6 คือ ตระกูล ซึ่งประกอบด้วย Pentium Pro และ Pentium II Pentium III, Pentium 4 processor และ ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีซีพียูจกบริษัทคู่แข่งอกจำหน่าย นั่นคือ Advance Micro Device หรือ AMD และยังรวมถึงรายย่อยอีก 2 ราย คือ Cyrix และ IDT ซึ่งทั้งสองรายนี้ปัจจุบันขายกิจการให้ VIA ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปเซ็ตรายใหญ่ของไต้หวันไปแล้ว
                                  

     แรม (RAsssssM) ใช้เก็บข้อมูลโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ชั่วคราว เพื่อรอส่งให้กับซีพียู

     แรม (RAM: Random Access Memory หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือหน่วยความจำชั่วคราว) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอรยุค ปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิกส์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
  • SRAM (Static RAM)
  • NV-RAM (Non-volatile RAM)
  • DRAM (Dynamic RAM)
  • Dual-ported RAM
  • Video RAM
  • WRAM
  • MRAM
  • FeRAM

                              

     ซาวน์การ์ด (Sound Card) ตัวประมวลผลสัญญาณเสียง

     จากอดีตที่คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถ "พูด" ได้ คำว่า "พูด" นี้หมายถึงการที่คอมพิวเตอร์สามารถส่งเสียงออกมาได้ นอกจากเสียง "ปี้บ" ปกติที่ออกมาจากลำโพงของพีซี จนเมื่อมีผู้ที่คิดผลิตซาวน์การ์ดขึ้นมา ก็เริ่มทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มีสีสันขึ้นมา โดยเฉพาะในวงการเกมที่จะต้องใช้ทั้งภาพที่ดูสมจริง และเสียงที่เร้าใจ เพื่อที่จะทำให้เกมนั้นมีความสนุกสนานขึ้นมากกว่าเก่า
เมื่อมีผู้ที่บุกเบิกตลาดซาวน์การ์ดขึ้นมา ก็เป็นธรรมดาที่จะมีผู้ที่ผลิตซาวน์การ์ดออกมาขายกันมากมาย จากในอดีตที่ซาวน์การ์ดมีราคาสูงถึง 3-4 พันบาท จนในปัจจุบันสามารถหาซื้อซาวน์การ์ดได้ในราคาประมาณ 1 พันบาท
วงการเกมจะได้รับประโยชน์จากซาวน์การ์ดมากที่สุด เพราะเกมต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมานั้น ต่างก็ต้องการความตื่นเต้นสนุกสนาน และสิ่งที่จะทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาก็คือ เสียง เพราะแค่ลำพังภาพที่มีสีสันสวยงาม จะเป็นสองมิติหรือสามมิติก็ได้ แต่ขาดเสียงประกอบ ก็ออกจะขาดอรรถรสในการเล่นเกมไปไม่ใช่น้อย
                                        การ์ดเสียงในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ แบบ FM Synthesis และแบบ Wavetable Synthesis
การ์ดเสียงแบบ FM Synthesis นั้นเป็นการ์ดเสียงเทคโนโลยีเก่าที่มักจะใช้ชิพ OPL ของ YAMAHA ในการสร้างเสียง ซึ่งการ์ดเสียงชนิดนี้จะใช้การสร้างเสียงจากการสังเคราะห์เสียง หรือสร้างเสียงเลียนแบบเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ คุณภาพเสียงที่ได้อยู่ในชั้นดี แต่ความสมจริงคงจะไม่มากนัก ขึ้นอยู่กับการออกแบบของการ์ดเสียงแต่ละตัว ในปัจจุบันการ์ดเสียง ชนิดนี้ยังเป็นที่นิยมอยู่ เพราะมีราคาถูก ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในการเล่นเป็นครั้งคราวหรือใช้ในงานมัลติมีเดียทั่วๆ ไป
การ์ดเสียงแบบ Wavetable Synthesis เป็นการ์ดเสียงรุ่นใหม่ ใช้เทคโนโลยี Wavetable คือ จะเก็บตัวอย่างเสียงจริง ๆ ของเครื่องดนตรี หรือเสียงเอฟเฟ็คต่าง ๆ ในแบบตารางเสียงลงในชิพ ROM (Read Only Memory เป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งคล้าย RAM แต่สามารถอ่านได้อย่างเดียว) เพื่อรอการประมวลผล ซึ่งต่างกับแบบ FAM Synthesis ที่ใช้การสังเคราะห์เสียง หรือการสร้างเสียงเลียนแบบคุณภาพเสียงที่ออกมาจึงสู้แบบ Wavetable ไม่ได้ ขนาดของหน่วยความจำ ROM ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างเสียงนั้น จะมีผลกับคุณภาพของเสียง และความเหมือนจริงของเสียงโดยตรง เพราะยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไรตัวอย่างของเสียงที่เก็บก็จะมีมากเท่านั้น การที่ตัวอย่างของเสียงที่เก็บไว้มีมากขึ้นก็หมายความว่า มีตัวอย่างเสียงหลากหลายรูปแบบมากขึ้น มีชนิดของเสียงหลายชนิดมากขึ้น โอกาสที่การ์ดเสียงจะต้องสังเคราะห์เสียง ขึ้นมาใหม่ก็มีน้อยลง ความเหมือนจริงของเสียงก็จะมากขึ้น เพราะเมื่อคอมพิวเตอร์สั่งให้การ์ดเสียงสร้างเสียงที่ไม่มีในตารางเสียง การ์ดเสียงจะสังเคราะห์เสียงขึ้นมาใหม่ ความเหมือนจริงก็จะน้อยลง
                            
      การใช้การ์ดเสียงสำหรับงานทั่วๆ ไปรวมทั้งใช้ในการเล่นเกมบ้างเป็นครั้งคราวนั้น ควรใช้การ์ดเสียงราคาถูกธรรมดาๆ แบบFM Synthesis ที่สนับสนุนมาตรฐานเสียง SoundBlaster ก็เพียงพอแล้ว (สำหรับใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ หรือเกมรุ่นเก่าๆ ) แต่ถ้าต้องการความสามารถในการเล่นไฟล์แบบ MIDI, แต่งเพลง หรือต้องการใช้ในการเล่นเกม ให้มีความไพเราะและสมจริงมากขึ้น ก็เพียงซื้อ Daughter Board ที่เป็น Wavetable มาต่อเพิ่มเติมจะคุ้มค่ากว่า
สำหรับผู้ใช้ระดับมืออาชีพ เช่น นักแต่งเพลง หรือผู้ที่ต้องการเสียงที่สมจริงที่สุดนั้น การ์ดเสียงแบบ Wavetable Synthesis จะเหมาะสมที่สุด เพราะการ์ดเสียงชนิดนี้จะให้เสียงดนตรี หรือเสียงจากเกมสมจริงที่สุด หน่วยความจำ ROM ที่มีในการ์ดเสียงแบบ Wavetable นั้นถ้ามีขนาดใหญ่เท่าใด ก็จะทำให้เสียงที่เล่นจากไฟล์ MIDI หรือจากเกมมีความสมจริงมากขึ้นเท่านั้น ROM ขนาด 512KB ซึ่งภายในเป็นข้อมูลตัวอย่างเสียงที่มีการบีบอัดจาก 1MB ก็เป็นขนาดที่น้อยที่สุดที่จะใช้ในการสร้างเสียงสมจริงแบบ Wavetable แต่ถ้าให้ดีที่สุดก็ควรที่จะมีอย่างต่ำ 2MB คุณภาพของเสียงจึงจะสมบูรณ์ที่สุด


การติดตั้งซาวน์การ์ด
   ก่อนที่จะติดตั้งซาวน์การ์ดลงไปในพีซี ก็จะขอแนะนำให้ทำแบ็กอัพไฟล์ Config.sys , Autoexec.bat , Win.ini , System.ini และรีจิสทรีของวินโดวส์ 95 ก่อน เพราะหลังจากที่ติดตั้งซาวน์การืดลงไปแล้ว จะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ไดรเวอร์ของซาวน์การ์ดลงไปด้วย ซึ่งจะเข้าไปแก้ไขข้อมูลบางอย่างในไฟล์เหล่านี้ด้วย เผื่อเกิดเหตุการณ์ที่เมื่อติดตั้งไดรเวอร์ของซาวน์การ์ดลงไปแล้วเกิดไม่ทำ งาน ก็ยังสามารถก๊อปปี้ไฟล์เหล่านี้กลับมาแทน เพื่อกลับไปสู่สถานะเดิมก่อนที่จะติดตั้งซาวน์การ์ดลงไป และอีกสิ่งหนึ่งที่จะต้องทำก็คือ สำรวจดูว่ายังมีเนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์เหลือพออยู่หรือเปล่า เพื่อใช้ในการติดตั้งไดร์เวอร์ของซาวน์การ์ดลงไป 
    • ปิดเครื่อง ถอดปลั๊กออกและเปิดฝาเคส
    • กราวนด์ตัวเองโดยเอามือไปแตะเคส
    • สำรวจดูว่ามีสล็อตไหนบนเมนบอร์ดที่ยังว่างอยู่ และสามารถติดตั้งซาวน์การ์ดเข้าไปได้บ้างซึ่งซาวน์การ์ดส่วนใหญ่ต้องการ สล็อตแบบ 16 บิตที่จะมีช่องต่ออยู่ 2 ช่อง
    • หลังจากที่เลือกสล็อตได้แล้ว ใช้ไขควงไขน็อตที่ติดอยู่กับแถบเหล็กด้านหลังออกไปก่อน และเก็บรักษาน็อตเอาไว้ให้ดี
    • นำเอาซาวน์การ์ดออกมาจากซอง พลาสติกที่หุ้มเอาไว้ โดยจับที่ขอบของซาวน์การ์ดที่เป็นพลาสติกห้ามจับในส่วนที่เป็นทองแดงที่เป็น หน้าสัมผัสของการ์ด
    • วางซาวน์การ์ดลงบนสล็อต แล้วค่อย ๆ กดลงไปรอบ ๆ จนคุณไม่สามารถมองเห็นแถบสีทองที่หน้าสัมผัสของการ์ดเสียบเข้าไปในสล็อตได้
    • ใช้ไขควงไขน็อตที่ถอดออกมากลับเข้าไป
    • ถ้ามีซีดีรอมติดตั้งอยู่ด้วย และใช้สายสัญญาณที่ต่อเข้ามายังซาวน์การ์ดด้วย ก็ให้ต่อสายสัญญาณนี้เข้ามายังคอนเน็กเตอร์ ที่อยู่ด้านข้างของซาวน์การ์ด ซึ่งจะสังเกตได้อย่างง่ายๆ เพราะจะเป็นคอนเน็กเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนการ์ด
    • จากนั้นก็ต่อสายสัญญาณออดิโอ (Audio Cable) จากด้านหลังของไดรว์ซีดีรอมเข้าไปยังออดิโอคอนเน็กเตอร์บนซาวน์การ์ด ปกติแล้วจะมีการเขียนกำกับไว้ที่คอนเน็กเตอร์ด้วยว่า "CD-in"

    • ต่อสายลำโพงเข้าไปที่ช่องต่อลำโพงด้านหลัง43. ของซาวน์การ์ด
    • เปิดเครื่องแล้วติดตั้งไดรเวอร์ของซาวน์การ์ดลงไป เพื่อทดสอบว่าซาวน์การ์ดทำงานได้หรือไม่ก่อนที่จะปิดฝาเคส เพราะถ้าไม่ทำงานก็สามารถถอดการ์ดออกมาแล้วเสียบเข้าไปใหม่ได้ในกรณีที่ เสียบไม่แน่น จากนั้นก็ติดตั้งซอฟต์แวร์ไดรเวอร์ของซาวน์การืดลงไป โดยทำตามขั้นตอนการติดตั้งตามปกติ ถ้าการ์ดไม่ทำงาน ก็ลองถอดออกมาแล้วเสียบเข้าไปใหม่ ตรวจดูว่าสายลำโพงเสียบแล้วหรือยัง เปิดเสียงลำโพงแล้วหรือยัง ลำโพงทำงานปกติหรือไม่
    • ถ้าการทำงานของซาวน์การ์ดเรียบร้อยแล้ว ปิดฝาเคสและไขน็อตกลับไปให้เรียบร้อย
                            
   เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) อุปกรณ์จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ
ระบบไฟฟ้าของเพาเวอร์ซัพพลาย"
     ประสิทธิภาพและความมีเสถียรภาพของการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสิ่ง ที่หลายๆ คนต้องคิดถึง เมื่อต้องการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์สักครั้งหนึ่ง และอุปกรณ์ส่วนหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันนั้น คือพาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) ที่เปรียบเสมือนสายเลือดที่หล่อเลี้ยงร่างกายคนเรา
พาวเวอร์ซัพพลาย หรือเรียกว่า Swiching Power Supply เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ เพราะถ้าไม่มีแหล่งจ่ายพลังงานให้อุปกรณ์ต่างๆ ก็จะไม่สามารถทำงานได้ ที่สำคัญในหลักปฏิบัติพื้นฐานของช่างคอมพิวเตอร์, ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นตรวจสอบที่ภาคจ่ายไฟ หรือพาวเวอร์ซัพพลายนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะไปตรวจเช็ตในส่วนอื่นๆ ต่อไป

ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

     
         1. AT เป็นพาวเวอร์ที่นิยมใช้กันในประมาณ 4-5 ปีก่อน (พ.ศ. 2539) โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิกส์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จัมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
         2. ATX เป็นพาวเวอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้
  ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
  ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)
  ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น

การทำงานส่วนต่างๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย
         1. ไฟกระแสสลับขาเข้า (AC Input) พลังงานไฟฟ้าในส่วนนี้ จะมาจากปลั๊กไฟ โดยที่รู้แล้วว่าไฟที่ใช้กันอยู่จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีขนาดแรงดัน 220v ความถี่ 50 Hz เมื่อเสียบปลั๊กไฟกระแสไฟฟ้าก็จะวิ่งตามตัวนำเข้ามายังเครื่องใช้ไฟฟ้า
    
         2. ฟิวส์ (Fuse) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการป้องกันวงจรพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมดให้รอดพ้น อันตราย จากกระแสไฟแรงสูงที่เกิดขึ้นจากการถูกฟ้าผ่า หรือกระแสไฟฟ้าแรงสูงในรูปแบบต่างๆ โดยหากเกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าที่ฟิวส์จะทนได้ ฟิวส์ตัวนี้ก็จะตัดในทันทีทันใด
     
         3. วงจรกรองแรงดัน วงจรกรองแรงดันนี้จะทำหน้าที่กรองแรงดันไฟไม่ว่าจะเป็นแบบกระแสสลับ หรือกระแสตรงก็ตาม ที่เข้ามาให้มีความบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อป้องกันแรงดันไฟที่ผิดปกติเช่นไฟกระชาก ซึ่งจะเป็นผลให้วงจรต่างๆ ในพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหายขึ้นได้
     
          4. ภาคเรคติไฟเออร์ (Rectifier) หลังจากที่ไฟกระแสสลับ 220v ได้วิ่งผ่านฟิวส์ และวงจรกรองแรงดันเรียบร้อยแล้วก็จะตรงมายังภาคเรคติไฟเออร์ โดยหน้าที่ของเจ้าเรคติไฟเออร์ ก็คือ การแปลงไฟกระแสสลับ ให้มาเป็นไฟกระแสตรง ซึ่งก็ประกอบไปด้วย
  ตัวเก็บประจุ (Capacitor) จะทำหน้าที่ทำปรับให้แรงดันไฟกระแสตรงที่ออกมาจากบริดเรคติไฟเออร์ ให้เป็นไฟกระแสตรงที่เรียบจริงๆ
  ไดโอดบริดจ์เรคติไฟเออร์ (Bridge Rectifier) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัว IC หรือแบบที่นำไดโอด 4 ตัวมาต่อกันให้เป็นวจรบริดจ์เรคติไฟเออร์
     
         5. วงจรสวิตชิ่ง (Switching) เป็นวงจรที่ใช้ในการทำงานร่วมกับวงจรควบคุม (Contrlo Circuit) เพื่อตรวจสอบว่าควรจะจ่ายแรงดันทั้งหมดให้กับระบบหรือไม่ โดยถ้าวงจรควบคุมส่งสัญญาณมาให้กับวงจรสวิตซิ่งว่าให้ทำงาน ก็จะเริ่มจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากภาคเรคติไฟเออร์ไปให้กับหม้อแปลงต่อไป
     
          6. หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) หม้อแปลงที่ใช้ในวงจรสวิตชิ่งซัพพลายจะเป็นหม้อแปลงที่มีหน้าที่ในการแปลงไฟ ที่ได้จากภาคสวิตชิ่ง ซึ่งก็รับแรงดันไฟมาจากภาคเรติไฟเออร์อีกต่อหนึ่ง โดยแรงดันไฟฟ้ากระแสงตรงที่มีค่าแรงดันสูงขนาดประมาณ 300 v ดังนั้นหม้อแปลงตัวนี้ก็จะทำหน้าที่ในการแปลงแรงดันไฟกระแสตรงสูงนี้ให้มี ระดับแรงดันที่ลดต่ำลงมา เพื่อที่จะสามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ก่อนที่จะส่งไปให้วงจรควบคุมแรงดันต่อไป
          7. วงจรควบคุมแรงดัน (Voltage Control) เป็นวงจรที่จะกำหนดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้รับมาจากหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อที่จะให้ได้ระดับแรงดันที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยค่าของระดับแรงดันไฟฟ้านี้ก็จะมีขนาด 5v และ 12v สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดแบบ AT แต่ถ้าเป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดที่เป็นแบบ ATX ก็จะต้องมีวงจรควบคุมแรงดันให้ออกมามีขนาด 3.3v เพิ่มอีกหนึ่ง (ซึ่งซีพียูรุ่นเก่าที่ใช้แรงดันไฟขนาด 3.3 v นี้ก็สามารถที่จะดึงแรงดันไฟในส่วนนี้ไปเลี้ยงซีพียูได้เลย)           8. วงจรควบคุม เป็นวงจรที่ใช้ในการควบคุมวงจรสวิตชิ่ง ว่าจะให้ทำการจ่ายแรงดันไปให้กับหม้อแปลงหรือไม่ และแน่นอนว่าในส่วนนี้จะทำงานร่วมกับวงจรลอจิกที่อยู่บนเมนบอร์ด เมื่อวงจรลอจิกส่งสัญญาณกลับมาให้แก่วงจรควบคุม วงจรควบคุมก็จะสั่งการให้วงจรสวิตชิ่งทำงาน

วิธีการเลือกซื้อ

         1. เลือกดูกำลังวัตต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเครื่องแต่ละคน (ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่ากำลังวัตต์ที่ปรากฏอยู่มีกำลังวัตต์จริง หากไม่มีเครื่องมือวัดให้ใช้หลักการง่ายๆ ในการตรวจสอบ คือตรวจสอบน้ำหนักของพาวเวอร์ซัพพลายนั้น เพราะถ้ามีน้ำหนักมากหมายถึงอุปกรณ์ภายใน เช่น หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้ามีขนาดใหญ่ หรือตัวเหนี่ยวนำจะมีขนาดใหญ่)
         2. ดูสภาพจากกล่องภายนอกว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่บุบเบี้ยว
         3. สายไฟ ขนาดไม่เล็กจนเกินไป ปลั๊กไฟมีจำนวน 6-9 หัว (ขึ้นอยู่กับรุ่น) และอยู่ในสภาพสมบูรณ์)
         4. มาตรฐานรับรองความปลอดภัยจากหน่วยงานต่างๆ เช่น FCC/ CE/ UL/ TUV เป็นต้น
                           

ลำโพง (Speaker) อุปกรณ์แสดงเสียง

         ลำโพง เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกใช้ในงาน เพื่อความบันเทิง และการศึกษามากขึ้น เช่น ใช้เป็นเครื่องเล่น VDO CD, ใช้ฟังเพลง ใช้งานซอฟต์แวร์มัลติมีเดียหรือโปรแกรมสื่อการสอน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยลำโพงทั้งส

                           

ซีดีรอมไดรว์ (CD-Rom Drive) อุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่น

         ซีดีรอมไดรว์ ได้กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันไปแล้ว เนื่องจากแผ่นซีดีรอมนั้นสามารถบันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากและมีราคาถูก ซีดีรอมไดรว์จะมีให้เลือกทั้งแบบติดตั้งภายใน และแบบติดตั้งภายนอก สำหรับรูปแบบการเชื่อมต่อหรือการอินเตอร์เฟสก็จะมีทั้งแบบ IDE และแบบ SCSI เช่นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ นอกจากนี้ยังแบ่งเครื่องซีดีรอมออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดอ่านได้อย่างเดียว ได้แก่ ซีดีรอมไดรว์ทั่วไปกับซีดีรอมไดรว์ประเภทที่ทำได้ทั้งอ่านและเขียนแผ่นซีดี ที่เรียกว่า ซีดีอาร์ ดับบลิว ไดรว์ในเครื่องซีดีรอมรุ่นแรกสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1X คือ 150 กิโลไบต์ต่อวินาที และได้พัฒนาเรื่อยมาเป็น 2X, 3X, 4X จนในปัจจุบันสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 54 เท่าจากความเร็วเดิม มีหน่วยความจำขนาด 128KB สำหรับซีดีรอมไดรว์แบบ IDE และขนาด 512 KB สำหรับซีดีรอมไดรว์แบบ SCSI

                                    

เคส (Case) ใช้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์         เคส คอมพิวเตอร์ ก็คือกล่องสำหรับบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ คอมพิวเตอร์ เอาไว้ข้างใน เพื่อประโยชน์ในการยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความมั่นคง กะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ ขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัย เช่น ป้องกันไฟดูด ป้องกันอุปกรณ์สูญหาย และการป้องกันการส่งคลื่นรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

ชนิดของ เคส คอมพิวเตอร์

ชนิดของ เคสคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะแบ่งตามขนาด และลักษณะของมัน ซึ่ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
•  ประเภทวางยืน หรือ Tower
•  ประเภทวางนอน หรือ Desktop บางทีเราก็เรียกว่าแบบตั้งโต๊ะ แต่ก็อาจจะสับสนกับประเภทแรก เพราะตั้งบนโต๊ะเหมือนกัน
ประเภท วางยืน หรือ ทาวเวอร์ – Tower


ประเภทนี้ยังแบ่งเป็นประเภทย่อยได้อีก คือ


• 
มินิทาวเวอร์ – Mini Tower
ข้อดีของประเภทนี้ คือ มีขนาดกะทัดรัด จะวางบนโต๊ะ หรือ ใต้โต๊ะก็สะดวก แต่ข้อเสีย คือจะ เพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปอีกค่อนข้างลำบาก เพราะพื้นที่ภายในแคบ อาจจะใส่ฮาร์ดดิสก์เพียงตัวเดียว หรือเพิ่มการ์ดต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ อย่างไรก็ตาม เคสคอมพิวเตอร์ ประเภทนี้มักจะได้รับความนิยมในสำนักงาน เพราะประหยัดพื้นที่ ขณะเดียวกัน งานในสำนักงานก็มักเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ขีดความสามารถของเครื่อง คอมพิวเตอร์ สูงอยู่แล้ว

• 
มิดทาวเวอร์ – Mid Tower
เคส รุ่นนี้ เป็น เคส ขนาดกลาง ซึ่งจะมีเนื้อที่ในการเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปได้มากกว่า ขณะเดียวกันก็ยังไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่เกินไป ยังเหมาะสมที่จะวางบนโต๊ะทำงานได้ รุ่นนี้มักเป็นที่นิยมของผู้ประกอบเครื่อง คอมพิวเตอร์ ด้วยตนเอง หรือจ้างให้ร้านประกอบให้ แม้กระทั่งในสำนักงานก็ยังนิยมใช้รุ่นนี้เหมือนกัน

• 
ฟูล ทาวเวอร์ – Full Tower
เป็น เคสคอมพิวเตอร์ รุ่นใหญ่ ซึ่งผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ คอมพิวเตอร์ หรือนักเล่นเกม จะนิยมประเภทนี้ เพราะใส่อุปกรณ์ได้มาก และระบายความร้อนได้ดีกว่า แต่ราคาก็ย่อมสูงตามไปด้วย ข้อเสียของมันคือมีขนาดใหญ่ จึงไม่ค่อยจะเหมาะที่จะวางบนโต๊ะ ผู้ใช้จึงมักหาที่วางใต้โต๊ะ หรือข้างโต๊ะ เคสคอมพิวเตอร์ ขนาด นี้ยังเอาไปทำเป็นเครื่อง เซอร์เวอร์ (Server) สำหรับบริการเครื่อง คอมพิวเตอร์ อื่น ๆ ด้วย

ประเภทเดสก์ทอป – Desktop

วัตถุประสงค์ของ เคส ประเภท นี้ เพื่อประหยัดพื้นที่ โดยเอาจอภาพวางซ้อนด้านบน ข้อเสียของมันคือจะเพิ่มเติมอุปกรณ์อีกแทบไม่ได้เลย อย่างไรก็ตาม เคส ประเภทนี้ยังคงเป็นที่นิยมใช้ในธุรกิจต่าง ๆ อยู่ เฉพาะอย่างยิ่ง คอมพิวเตอร์ ที่อยู่บนเคาน์เตอร์ หรืออยู่บนโต๊ะขนาดเล็ก

สลิม เดสก์ทอป – Slim Desktop

เคสคอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ มักใช้ในหน่วยงานขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้ คอมพิวเตอร์ จำนวนมาก การออกแบบระบบ คอมพิวเตอร์ ก็ให้ประมวลผลที่เครื่อง เซอร์เวอร์ หรือ เมนเฟรม การเก็บข้อมูลก็เก็บที่ศูนย์ข้อมูล แทนที่จะเก็บที่เครื่องลูก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์มากมาย และสามารถประหยัดการลงทุนกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ได้มาก เมนบอร์ดและซีพียู ก็อาจใช้ประเภทขนาดเล็ก กินไฟน้อย อุปกรณ์ต่าง ๆ อาจรวมเป็นชิ้นเดียว บนเมนบอร์ดเลย ซึ่งจะเรียกว่าเป็นเครื่อง workstation มากกว่าที่จะเรียก PC หรือ Personal Computer
                                

การ์ดแสดงผล (Display Card) อุปกรณ์ทำหน้าที่นำสัญญาณภาพส่งให้กับจอภาพ

Display Card (การ์ดแสดงผล)
     หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร

หน่วยความจำ

      การ์ดแสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผล บางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ด โดยทำหน้าที่ในการ ประมวลผลภาพ แทนซีพียูไปเลย ช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่ามากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น
      เมื่อได้รับข้อมูลจากซีพียูมาการ์ดแสดงผล ก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผล มีหน่วยความจำมากๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ยิ่งถ้าข้อมูล ที่มาจากซีพียู มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพ ที่มีสีและความละเอียดของภาพสูงๆ


ความละเอียดในการแสดงผล

       การ์ดแสดงผลที่ดีจะต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดสูงๆ ได้เป็นอย่างดี ความละเอียดในการแสดงผลหรือ Resolution ก็คือจำนวนของจุดหรือพิกเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไป แสดงบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมาก ก็ทำให้ภาพที่ได้ มีความคมชัดขึ้น ส่วนความละเอียดของสีก็คือ ความสามารถในการแสดงสี ได้ในหนึ่งจุด จุดที่พูดถึงนี้ก็คือ จุดที่ใช้ในการแสดงผล ในหน้าจอ เช่น โหมดความละเอียด 640x480 พิกเซล ก็จะมีจุดเรียงตามแนวนอน 640 จุด และจุดเรียงตามแนวตั้ง 480 จุด
      โหมดความละเอียดที่เป็นมาตราฐานในการใช้งานปกติก็คือ 640x480 แต่การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ สามารถที่จะแสดงผลได้หลายๆ โหมด เช่น 800x600, 1024x768 และการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะ สามารถแสดงผลในความละเอียด 1280x1024 ส่วนความละเอียดก็มี 16 สี, 256 สี, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือมักจะเรียกกันว่า True Color

อัตราการรีเฟรชหน้าจอ

      การ์ดแสดงผลที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลายๆ อัตรา อัตราการรีเฟรชก็คือ จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอ ใหม่ในหนึ่งวินาที ถ้าหากว่าอัตรารีเฟรชต่ำ จะทำให้ภาพบนหน้าจอ มีการกระพริบ ทำให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เกิดอาการล้า ของกล้ามเนื้อตา และอาจทำให้เกิดอันตราย กับดวงตาได้
     อัตราการรีเฟรชในปัจจุบันมีมากกว่า 100 เฮิรตซ์ ขึ้นอยู่กับยี้ห้อของการ์ดแสดงผล ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่ อัตรารีเฟรช ยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้น อัตรารีเฟรชยิ่งมากก็ยิ่งดี

ที่มา http://202.143.168.214/uttvc/HardwareUtility/page2.html